แนวคิดของระบบระบายอากาศ
จากที่กล่าวในบทความที่แล้วว่า
ในโรงงานอุตสาหกรรมมีความอันตรายและอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ดังนั้นจึงมีมาตรการทางกฎหมายเข้ามาเพื่อควบคุมให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานอุตสาหกรรม
มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานได้อย่างปกติสุขและถูกสุขอนามัย
บทความที่แล้วกล่าวถึงอันตรายและการลดอันตรายจากอุณหภูมิที่ร้อน
ด้วยระบบระบายอากาศ
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นระบบระบายอากาศแบบทั่วไป
(general
dilution) และระบบระบายอากาศแบบเฉพาะที่
(local exhaust ventilation) ในบทความนี้ เรามาดูกันว่า ระบบระบายอากาศแบบทั่วไป
มีแนวคิดอย่างไร เหตุใดจึงต้องมีการใช้ระบบระบายอากาศ
รวมถึงประโยชน์ของการระบายอากาศที่เกี่ยวกับความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม
แนวคิดของระบบระบายอากาศ
เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรม
สามารถเกิดอุบัติเหตุและมลพิษได้ตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ทางกฎหมายจึงได้กำหนดให้มีมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในสถานประกอบการขึ้น ทั้งนี้
มาตรฐานคุณภาพอากาศของแต่ละประเทศอาจแตกต่างกันออกไปได้
วิธีการที่ใช้ควบคุมมลพิษในอากาศ
มีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น
· การเลือกใช้วัตถุดิบ
และ/หรือ กรรมวิธีการผลิตที่มีอันตรายน้อยกว่า
· การแยกกรรมวิธีการผลิตที่มีอันตรายออกไปอยู่ต่างหาก
· การปกปิดไม่ให้มลพิษถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดเข้าสู่อากาศ
· การระบายอากาศชนิดต่าง
ๆ สำหรับการใช้อุปกรณ์คุ้มครองอันตรายส่วนบุคคลแบบต่าง ๆ นั้น ไม่ถูกจัดว่า เป็นวิธีการ
“ควบคุม” แต่เป็นวิธีการ “ป้องกัน”
ไม่ให้มลพิษเข้าสู่ร่างกายของผู้สวมใส่อุปกรณ์ฯ ทั้งนี้ภายใต้ ภาวะที่ใช้งาน
มลพิษยังคงมีอยู่ในอากาศ
จะเห็นได้ว่า
การระบายอากาศเป็นวิธีการควบคุมมลพิษทางอากาศที่ดีวิธีหนึ่ง โดยมีหลักการของการเคลื่อนย้ายอากาศที่ปนเปื้อนด้วยมลพิษออกไปจากสถานประกอบการ
การระบายอากาศ จึงหมายถึง การจัดการเคลื่อนย้ายอากาศให้ไหลไปในทิศทาง
และความเร็วที่ต้องการ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ระบบระบายอากาศนอกจากจะเคลื่อนย้ายอากาศออกไปจากสถานประกอบการแล้ว
ยังสามารถดำเนินการให้อากาศบริสุทธิ์
หรืออากาศที่ต้องการไหลเข้ามาในสถานประกอบการได้เช่นกัน ดังนั้น การออกแบบระบบระบายอากาศ
โดยหลักการแล้ว สามารถออกแบบและควบคุมให้เป็นไปตามความต้องการ
จึงเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลยิ่งวิธีหนึ่งในการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพต่อผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น