ดังที่กล่าวมาแล้ว มีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่เป็นด้านกายภาพ ปัจจัยด้านชีวภาพ ปัจจัยด้านเคมี และปัจจัยทางจิตสังคม ที่ส่งผลต่อการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในบทความนี้ เราจะเน้นถึงปัจจัยด้าน “กายภาพ” ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่
1. อุณหภูมิที่ผิดปกติ
2. เสียงดัง
3. ความสั่นสะเทือน
4. รังสี
5. แสดงสว่าง
ในที่นี้จะขอกล่าวถึง “เรื่องอุณหภูมิที่ผิดปกติ” ซึ่งจะส่งผลเสีย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่
· อันตรายจากอุณภูมิที่เย็น
· อันตรายจากอุณภูมิที่ร้อน
อุณภูมิที่ผิดปกตินี้ สามารถทำให้เกิดอัตรายต่อสุขภาพได้ หลายประการ ไม่ว่าจะเป็น
· ไฮโปเทอเมีย คือ อาการที่เย็นจนสั่นไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ ปวดตามส่วนปลายของแขนและขา หากมีอาการเย็นมาก จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง ชีพจรอ่อน ความดันเลือดต่ำ สูญเสียความทรงจำ หมดความรู้สึก และอาจเสียชีวิตได้
สำหรับในประเทศไทยที่อยู่ในเขตอากาศร้อน เรื่องของอันตรายจากอุณหภูมิที่เย็นนั้นอาจพบไม่มาก หากไม่ใช่โรงงานที่มีสภาวะแวดล้อมโดยเฉพาะ เช่น โรงงานแช่แข็ง เป็นต้น
อันตรายสำคัญที่พบได้บ่อยในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย คือ อันตรายจากอุณหภูมิที่ร้อน ตัวอย่างเช่น
· การเป็นลมเนื่องจากความร้อน
· การอุดตันของเส้นเลือด จากภาวะ Heat Syncope คือจะมีเลือดไปรวมกันบริเวณที่มีเส้นเลือดขยายตัว และเลือดไปอยู่ส่วนล่างของร่างกาย
· การขาดน้ำและเกลือแร่ ทำให้เกิดความอ่อนเพลียจากความร้อน (Heat Exhaustion) มีอาการอ่อนล้า คลื่นไส้ ปวด หรือเวียนศีรษะ ผิวหนังชื้น ซีด หรืออาจเป็นสีแดง อาจสลบทั้งยืน และชีพจรอ่อน ความดันเลือดต่ำ ปัสสาวะน้อยและข้น เลือดไหลเวียนไม่เพียงพอ
· การผิดปกติทางผิวหนัง อันเนื่องจาก
o ความร้อน จะเกิดตุ่มเล็ก ๆ สีแดงในบริเวณที่ได้รับอันตรายจากความร้อน
มีความรู้สึกคล้ายของทิ่มแทง ต่อมเหงื่ออุดตันทำให้เกิดการอักเสบ
o การกักขังของเหงื่อ จะมีอาการขนลุกเมื่อได้รับความร้อน จะไม่มีเหงื่อ
อาการจะลดลงเมื่ออยู่ในอากาศที่เย็นลง
จะเห็นว่า
ภัยอันตรายจากอุณหภูมิที่ร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม มีมากมายและน่าหวาดกลัว
หากแต่เราสามารถป้องกันได้และควบคุมอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้ได้ โดย· การควบคุมและป้องกันที่แหล่งกำเนิด
· การควบคุมและป้องกันที่ตัวบุคคล
วิธีการหนึ่งที่จะช่วยควบคุมและป้องกันที่แหล่งกำเนิด และได้ผลอย่างมากในวงการอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอุณหภูมิ การกำจัดมลพิษในอากาศ การควบคุมความร้อน ความชื้น กลิ่นรบกวน ควัน และมลพิษอื่น ๆ นั่น ก็คือ “การใช้ระบบระบายอากาศ”
ระบบระบายอากาศ
ระบบระบายอากาศอุตสาหกรรม โดยทั่ว ๆ ไป สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
· ระบบทำความเย็น (ปรับอากาศ)
· ระบบระบายอากาศธรรมดาโดยใช้พัดลม
· ระบบทำความร้อน
สำหรับประเทศไทยนั้น นิยมใช้ 2 ระบบแรกสำหรับระบบระบายอากาศ และเมื่อแยกออกตามลักษณะการใช้ แล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ การระบายอากาศแบบทำให้เจือจาง (dilution ventilation) หรือแบบทั่วไป (general dilution) และแบบเฉพาะที่ (local exhaust ventilation) ซึ่งแต่ละชนิดจะมี ทั้งข้อดี และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น