จากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ว่า ระบบระบายอากาศ
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2
ประเภท โดยอาศัยหลักการที่ใช้ในการดำเนินการระบายอากาศ คือ
1.
ระบบระบายอากาศแบบทำให้เจือจาง
(dilution
ventilation) หรือแบบทั่วไป (general dilution)
2.
ระบบระบายอากาศแบบเฉพาะที่
(local
exhaust ventilation)
1.
ระบบระบายอากาศแบบทำให้เจือจาง เป็นการระบายอากาศเพื่อลดความเข้มข้นของมลพิษซึ่งปนเปื้อน
อยู่ในอากาศในโรงงาน หรือสถานประกอบการ โดยการทำให้เจือจางลงด้วยอากาศบริสุทธิ์จากภายนอก
จนกระทั่งมลพิษดังกล่าวมี ความเข้มข้นอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ (เช่น กลิ่นอันไม่พึงประสงค์)
นอกจากนี้
ระบบระบายอากาศนี้
ยังใช้ได้ดีในการป้องกัน และควบคุมความร้อน ความชื้น
และอันตรายจากการระเบิดอันเนื่องมาจากความเข้มข้นของสารเคมีบางประเภทอีกด้วย
2.
ระบบระบายอากาศแบบเฉพาะที่ เป็นการระบายอากาศเช่นเดียวกับระบบระบายอากาศแบบทำให้เจือจาง
กล่าวคือ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและควบคุมปัญหา ความเดือดร้อน
รำคาญ และป้องกันอันตรายจากการระเบิด แต่หลักการและวิธีการจะแตกต่างกันออกไป คือ ระบบระบายอากาศแบบเฉพาะที่
จะอาศัยหลักการของการดูด ระบายมลพิษ
พร้อมทั้งอากาศที่ถูกปนเปื้อนออกไปจากบริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดโดยตรง
ก่อนที่มิลพิษนั้นจะเข้าไปปนเปื้อนกับอากาศ
ซึ่งประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักสำคัญ ได้แก่
i.
ท่อดูดอากาศ (Hoods)
ii.
ท่อลม (Ducts)
(ตัวอย่าง ท่อลม)
และนอกจากทั้ง
3 องค์ประกอบหลักนี้ อาจจะมีอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ
หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดอากาศ (air cleaners) ติดตั้งด้วย
ในกรณีที่จำเป็น เช่น เมื่อปริมาณสารมลพิษ มีความเข้มข้นในปล่องควันของระบบระบายอากาศ
มีระดับสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพที่ปล่อยออกมานอกโรงงาน
ซึ่งกำหนดไว้สำหรับมลพิษชนิดนั้น ๆ