วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หลักการเลือกใช้งานใบพัดลมอุตสาหกรรม

การเลือกชนิดของใบพัดลม Centrifugal Blower  
หลักการเลือกใช้งานใบพัดลมอุตสาหกรรม Centrifugal Blowerจุดประสงค์ ลูกค้าเลือกใช้ใบพัดลมให้เกิดประสิทธิภาพงานที่สูงที่สุด ในแต่ละประเภทงาน ใบพัดพัดลม เป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อนำไปสร้าง อุปกรณ์แต่ละชนิด เช่น พัดลมดูดอากาศ พัดลมระบายอากาศ เครื่องดูดควัน  เครื่องดูดกลิ่น พัดลมไอเย็น พัดลมกันระเบิด แต่ละชนิดมีการออกแบบพัดลมแบบที่แตกต่างกัน โดยเป้นตัวกำหนดความเร็วลมและลักษณะการเคลื่อนที่ของลม โดยมีรายละเอียดดังนี้
รูปลักษณะของใบพัดลมอุตสาหกรรม แบบต่างๆ อาทิ AF, BC, BI, RT,FC, RB
1.
ใบพัดลมอุตสาหกรรม AF แบบแพนอากาศ Centrifugal blower with airfoil blades การเลือกใช้ใบพัดลมชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพเชิงกลที่สูงที่สุด และมีข้อดีคือมีระดับเสียงที่ต่ำที่สุด มีโครงสร้างที่แข็งแรง สามารถหมุนทำงานที่ความเร็วรอบสูงๆได้ดีโดยสามารถสร้างค่าแรงดัน Static pressure ได้สูงถึง 7,600 Pa

2.
ใบพัดลมอุตสาหกรรม BC แบบโค้งหลัง Centrifugal blower with backward-curved blades ลักษณะใบพัดลมอุตสาหกรรมชนิดนี้จะมีใบพัดที่โค้งไปด้านหลังเมื่อเทียบกับทิศทางการหมุนของใบพัดและมีประสิทธิภาพเชิงกลที่สูง เราสามารถนำมาใช้กับงานประเภทที่มีพวกฝุ่นผง ใบพัดลมมีลักษณะแข็งแรง ทนทาน และทนต่ออุณหภูมิที่สูงๆได้ดี

3.
ใบพัดลมอุตสาหรรม BI แบบใบพัดลมเอียงใบด้านหลัง Centrifugal blower with backward-inclined blades .ใบพัดลมชนิดนี้จะเอียงไปด้านหลังเมื่อเทียบกับทิศทางการหมุนของตัวใบพัดลม ข้อดีจะง่ายในการสร้างและออกแบบสะดวกรวดเร็วในการผลิต และราคาถูกกว่าแบบ AF และ BC จากทั้งสองแบบที่กล่าวมาข้างต้นนี้ และในด้านความแข็งแรงคงทนก็จะดีมากในรูปลักษณะใบพัดลมแบบนี้ ประสิทธิภาพเชิงกลจะน้อยกว่า ใบพัดลม AF และBC

4.
ใบพัดลมอุตสาหรรม RT ใบพัดลมแบบนี้ขอบของใบพัดลมจะอยู่ในแนวรัศมี Centrifugal blower with radial-tip Blades โดยเราจะสามารถวัดเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงกลจะไม่สูงมากนัก มีใช้มากในงานอุตสาหกรรมซึ่งจะทนต่อการกัดกร่อนจากฝุ่นผงได้ดี และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้สูงอีกด้วย เมื่อทำการทดลองเปรียบเทียบลักษณะใบพัด ทั้งแบบ AF ,BC, BI ทั้งสามแบบนี้กับใบพัดลมแบบ RT โดยกำหนดขนาดใบพัดลมที่มีขนาดและความเร็วรอบที่เท่ากันแล้ว ตัวใบพัดลมแบบ RTนี้จะให้ประสิทธิภาพในเรื่อง Static pressureได้แรงดันสถิตสูงกว่าแบบอื่นๆ
5.
ใบพัดลมอุตสาหกรรม FC เป็นการออกแบบและผลิตใบพัดลมให้มีลักษณะใบพัดให้โค้งไปด้านหน้า Centrifugal blower –curved blades จะมีประสิทธิภาพเชิงกลไม่สูงมากนัก โดยเมื่อเวลาที่ใบพัดหมุนไปจะโค้งไปในแนวเดียวกับการหมุนของใบพัด แต่ถ้าเราทำการทดลองใบพัดชนิดนี้กับแบบอื่นๆ โดยเรากำหนดให้ขนาดใบพัดลม และความเร็วรอบที่หมุนเท่ากัน ใบพัดลมอุตสาหกรรมแบบนี้จะให้อัตราการไหลที่มากกว่าแบบอื่นๆ จะเห็นตัวอย่างที่ใช้กันมากในพัดลมระบายอากาศ เครื่องปรับอากาศต่างๆ ระบบกลุ่มงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งกลุ่มงานเตาเผาที่ขนาดไม่ใหญ่มาก
6.
ใบพัดลมอุตสาหกรรม RB ใบพัดลมชนิดนี้เราจะสังเกตุเห็นว่าใบพัดลมนั้นจะตรงในแนวรัศมี โดยลากตรงจากจุดศูนย์กลางของแกนใบพัดลม Centrifugal blower with radial blades ใบพัดลมอุตสาหกรรมแบบนี้จะมีประสิทธิภาพเชิงกลด้อยกว่าทุกแบบที่กล่าวมา แต่ข้อดีของใบพัดลมแบบนี้จะทนต่อการกัดกร่อนและอุณหภมิที่สูงๆได้ดี ใช้งานมากในกลุ่มอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ใบพัดลมจะทนทานต่อวัสดุต่างๆจากระบวนการผลิตที่มีการบดเป็นชิ้นๆที่แหลมคมต่างๆ หรือคราบเขม่าควัน ที่เกาะจับติดแน่นและมีการกัดกร่อนสูง หรือกลุ่มงานทางการเกษตร ที่ต้องการออกแบบเพื่อการส่งเม็ดข้าวโพด ซังข้าว หนวดใยต่างๆจะไม่เกาะติดที่ตัวใบพัดลม

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การออกแบบ พัดลมระบายอากาศ

การออกแบบ พัดลมระบายอากาศ
การออกแบบพัดลมระบายอากาศมีสองส่วนหลัก คือ
1.
การระบายอากาศแบบทั่วไป (General Exhaust Ventilation) ซึ่งบางท่านจะเรียกว่าการระบายอากาศใบพัด สร้างขึ้นให้มีลักษณะหรือรูปร่าง เป็น Airfoil คล้ายกับลักษณะของปีกเครื่องบิน เมื่อใบพัดหมุนโดยการหมุนของเครื่องยนต์ ใบพัดก็จะสร้าง แรง ยก ไปทางด้านหน้าของเครื่องบิน และ แรงยกส่วนนี้เราเรียกว่า thrust ที่จะทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า อากาศยานส่วนใหญ่ มีใบพัดแบบที่ใช้ดึง เครื่องบิน ผ่านไปในอากาศ ใบพัดประเภทนี้เรียกว่า ใบพัดแบบ tractor อากาศยานบางเครื่อง ใช้ใบพัดแบบผลัก ให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปในอากาศ เรียกใบพัด ประเภทนี้ว่า pusher แบบเจือจาง (Dilution Ventilation) โดยเหมาะสำหรับอุปกรณ์ ประเภท พัดลมระบายอากาศ พัดลมไอเย็น พัดลมกันระเบิด พัดลมโรงงาน

2.
การระบายอากาศแบบเฉพาะที่ หรือเฉพาะจุด (Local Exhaust Ventilation) โดยจะต้องมีทั้ง ระบบระบายอากาศออก (Exhasut System) และระบบส่งอากาศ(Supply Sytem)ที่เหมาะสม ส่วนมากจะจัดให้อยู่ในชุดเดียวกัน เรียกว่า Airhouse ,Air Supply Unit และ Air Handing Unit(AHU) โดยการนำอากาศกลับเข้ามาใช้ใหม่ผ่านเครื่องกรองอากาศ Air return System ซึ่งเมื่อได้อากาศกลับเข้ามาใช้ใหม่ทำให้เกิดการประหยัดพลังงานในระบบ การเลือกใช้พัดลมอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานต้องพิจารณาว่าเราจะนำพัดลมไปใช้ เพื่อจุดประสงค์อะไร และจะ แก้ปัญหาอะไรในระบบ โดยคำนึงถึงสารปนเปื้อนในงานระบบอุตสาหกรรม อาทิ ควัน(Smoke), ฝุ่นละออง(Dust) , ละอองไอ(Mist), ไอควัน(Fume), ก๊าซและไอ(Gas and vapor) รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ เสริม เช่น ถุงกรองฝุ่น ท่อส่งลม โดยหากท่านมีการใช้งานแบบไม่ถาวร สามารถใช้บริการแบบ ให้เช่าพัดลม ให้เช่าท่อลม ได้ สำหรับกรณีการใช้งานที่ชั่วคราว  ไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องการบำรุงรักษา
พัดลมที่นิยมใช้ในการระบายอากาศ จะแยกตามชนิดการไหลของอากาศผ่านตัวพัดลม เป็นพัดลมแรงเหวี่ยง (Centrifugal fan) และพัดลมไหลตามแกน(Axial fan) บางท่านจะเรียกพัดลมประเภทแรกที่มีการลำเลียงอากาศโดยอาศัยกลไกของการเหวี่ยงว่าพัดลมหอยโข่ง ซึ่งเกิดจาการหมุนของใบพัด(blades)ที่ติดอยู่กับล้อ(Fan Wheel) โดยมีต้นกำเหนิดกำลังจากภายนอก เช่นมอเตอร์ไฟฟ้า อากาศจากภายนอกจะถูกดึงเข้าสู่ตัวใบพัดลมในแนวแกนหมุน และถูกเร่งโดยให้มีความเร็วที่สูงขึ้น และอากาศจะเหวี่ยงออกไปทำการปะทะกับตัวโครง(Fan Housing)พัดลมที่มีลักษณะก้นหอย โดยอากาศจะไหลในแนวรัศมีของใบพัด เป็นพลังงานจลน์ ตั้งฉากกับเพลาของล้อพัดลม สำหรับประเภทพัดลมแบบที่สองแนวของลมจะพัดไหลตามแกนจะขนานกับแกนของใบพัดลม ซึ่งทั้งสองแบบก่อนจะเลือกใช้ออกแบบจะต้องคำนึงถึง
1. อัตราการไหลของอากาศ (Q) จะมีหน่วยวัดค่า เป็น cfm โดยจะเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพและความสามารถของพัดลม
2.ค่า Static pressure เป็นแรงดันสถิตของพัดลมที่กระทำ ค่าความดันสถิต มีหน่วยเป็น in.wg ที่ภาวะมาตรฐานอากาศ (ต้องคำนึงและแก้ความหนาแน่นของอากาศ)
3.อุณหภูมิของอากาศ ซึ่งมีผลต่อการเลือกวัสดุที่ใช้ในการผลิตตัวพัดลม ที่สามารถทนอุณภูมิ ณ.จุดใช้งานได้อย่างเหมาะสม
4.สารปนเปื้อนที่ต้องการกำจัด ซึ่งโดยการแบ่งตามเข้มข้นที่เกิดในระบบนั้นๆ 5.พื้นที่ในการติดตั้งพัดลม สภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้เคียง ความกว้าง ความแคบของพื้นที่ในการติดตั้งพัดลม เพื่อกำหนดขนาดของตัวพัดลมให้เหมาะสม
6.ข้อกำหนดของระดับเสียงที่สามารถกำหนดได้ เพราะแรงลมและแรงดันที่มากจะควบคู่กับเสียงที่เกิดขึ้นเช่นกัน
7.ต้นกำเหนิดพลังงานที่จะฉุดการหมุนของใบพัดลม แต่ละประเภท จากแหล่งใด
8.จุดประสงค์และเป้าหมายหลักว่า สภาพการทำงานปัจจุบันเกิดปัญหาอะไร และต้องการติดพัดลมไปแล้วนั้น เพื่อแก้ปัญหาอะไร ตอบโจทย์ให้ครบถ้วน หรือยัง
9.ความต้องการอื่นๆที่ ลูกค้า หรือวิศวกร เจ้าของงานกำหนดขึ้น เช่น สถานที่ใช้งานที่ต้องการความปลอดภัยสูง  เช่น พัดลมกันระเบิด ไม่เกิดไฟฟ้าสถิตย์ระหว่างการใช้งาน หรือเมื่อเปิดสวิสช์ไม่เกิดประกายไฟ